การปรับปรุงบัญชี และกระดาษทำการ
สาระประจำหน่วย
เนื่องจากรายการบันทึกบัญชีระหว่างงวดอาจมีรายการเป็นช่วงระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับปีถัดไป หรือบางรายการไม่มีการบันทึกบัญชีในงวดบัญชีนั้นๆนักบัญชีจึงต้องมีการปรับปรุงรายการก่อนนำตัวเลขไปจัดทำรายงานทางการบัญชี การจัดกระดาษทำการงบทดลองหลังรายการปรับปรุงจึงเป็นการสรุปยอดคงเหลือบัญชีต่างๆ เมื้อสิ้นขอบระยะเวลาหนึ่ง เป็นการพิสูจน์ยอดความถูกต้องของการบันทึกบัญชี ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Excel ช่วยในการคำนวณได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
5.1 รายการปรับปรุง
รายการปรับปรุง (Adjusting Entry) หมายถึง การบันทึกรายการ เพื่อแก้ไขการปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการให้มีความถูกต้องตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ในการสิ้นสุดงวดบัญชีเนื่องจากทางการปฏิบัติการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินจริง การปรับปรุงรายการต่างๆทำให้ผลการดำเนินงานของกิจการมีความถูกต้องกับความเป็นจริง และส่งผลกับสินทรัพย์ หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการด้วย ประเภทการปรับปรุงได้แก่
5.1.1 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue)
เป็นรายได้ที่กิจการได้รับเงินในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่มีรายรับบางส่วนเป็นกิจการรายได้ของงวดบัญชี ถัดไป จึงจะเป็นหนี้สินที่กิจการมีภาระในการบริการ วิธีการบันทึกบัญชีเมื่อรับเงินเป็นเป็นรายได้รับล่วงหน้า มี 2 วิธีได้แก่
วิธีที่ 1 บันทึกการรับเงินเป็นหนี้สินทั้งจำนวนเงินในบัญชีรายได้รับล่วงหน้า
วิธีที่ 2 บันทึกการรับเงินเป็นรายได้ทั้งจำนวนเงินในบัญชีรายได้
ตัวอย่างที่ 5.1
5.1.2 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue)
รายได้ค้างรับ คือ รายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับเงิน ซึ่งกิจการจะได้รับในงวดบัญชีต่อไป ดังนั้นจึงถือรายได้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสินทรัพย์ของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน โดยกิจการจะทำการปรับปรุงรายการกำหนดเป็นทรัพย์สินของกิจการ
5.1.3 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ( Prepaid Expenses )
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า คือ ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินออกไปในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ได้รวมค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปีหน้าส่วนหนึ่งไว้ด้วย ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในงวดบัญชีปีหน้า โดยกิจการจะทำการปรับปรุงรายการนี้ ณ วันสิ้นงวด ( Prepaid Expenses )
ตัวอย่าง 5.3 เมื่อวันที่ 1สิงหาคม กิจการค่าเช่าโฆษณา 9,000 สำหรับระยะเวลา 6 เดือน
วิธีที่ 1 บันทึกการจ่ายเงินเป็นสินทรัพย์ทั้งจำนวน ในบัญชีค่า ใช้จ่ายล่วงหน้า
สมุดรายวันทั่วไป
พ.ศ. 2556 | รายการ | เลขที่ บัญชี | เดบิต | เครดิต | |||
เดือน | วันที่ | ||||||
ส.ค. | 1 | ค่าโฆษณาล่วงหน้า เงินสด ค่าใช้จ่ายโฆษณาระยะเวลา6เดือน | 109 101 | 9,000 | - | 9,000 | - |
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ซึ่งกิจการจะจ่ายในงวดบัญชีต่อไป ดังนั้นจึงถือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้เป็นหนี้สินของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน โดยกิจการจะทำการปรับปรุงรายการนี้
ตัวอย่าง 1.
กิจการได้รับบิลค่าโฆษณาจากบริษัท สื่อโฆษณา สำหรับเดือน ธันวาคม จำนวน 10,000 บาท กิจการยังไม่ได้จ่าย ดังนั้น ณ วันสิ้นงวด กิจการต้องบันทึกรายการปรับปรุงโดย
ว.ด.ป | รายการ | เลขที่ บัญชี | เดบิต | เครดิต | |||
ธ ค | 31 | ดอกเบี้ยจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย ปรับปรุงดอกเบี้ยค้างจ่าย 3เดือน 12,000X 12/100X 3/12 | 501 202 | 360 | 360 | ||
5.1.5 ค่าเสื่อมราคา ( Depreciation )
ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่ตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ ที่กิจการใช้ประโยชน์ประจำงวดทั้งนี้เพราะสินทรัพย์ประเภทอาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร รถยนต์ เป็นสินทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานและมักจะมีมูลค่าสูง จึงมีการประมาณประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านี้เฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละงวด งวด โดยการคำนวณค่าเสื่อมราคามีหลายวิธีในที่นี้กล่าวถึงการคำนวณด้วยวิธีเส้นตรง (Straight Ling Method)
อายุการใช้งาน
ค่าเสื่อมราคาปี 2556 1 มีนาคม -30 ธันวาคม 2556
=(62,0000-2,000) * 10 = 5,000 บาท
10 1
10 1
5.1.6 วัสดุสำนักงานที่ใช้ไป ( Supplies Used Expense )
วัสดุสิ้นเปลือง เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีลักษณะใช้แล้วหมดไป และมีมูลค่าต่อหน่วยต่ำ เช่น กระดาษ ปากกา ยางลบ ลวดเสียบ โดยจะเรียกวัสดุเหล่านี้ตามลักษณะการใช้งาน เช่น วัสดุสำนักงาน ในการจัดหาวัสดุสิ้นเปลืองมาใช้มักจะซื้อปริมาณมาก และมีการควบคุมโดยใช้หลักฐานการเบิกจ่าย และ ณ วันสิ้นงวดจะมีการตรวจนับวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ เพื่อจะได้ทราบว่าได้ใช้วัสดุสิ้นเปลืองเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อคำนวณหาวัสดุสำนักงานใช้ไปกับบันทึกค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบัน
วิธีการคำนวณวัสดุสำนักงานใช้ไป วัสดุสำนักงานใช้ไป= วัสดุสำนักงานต้นงวด+ วัสดุสำนักงานระหว่างงวด-วัสดุสำนักงานสิ้นงวด =3,500 + 15,000 - 2,400 =13,600 บาท |
บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม 2556
สมุดรายวันทั่วไป
พ.ศ. 2556 | รายการ | เลขที่ บัญชี | เดบิต | เครดิต | |||
เดือน | วันที่ | ||||||
ธ.ค. | 31 | วัสดุสำนักงานใช้ไป วัสดุสำนักงาน ปรับปรุงวัสดุสำนักงานใช้ไป | 511 111 | 13,600 | - | 13,600 | - |
5.1.7 ค่าเผื่อหนี้จะสูญหาย ( Doubtful Accounts )
ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทให้บริการ หรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จะมีลูกหนี้จำนวนหนึ่งที่กิจการไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ซึ่งกิจการได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว จึงตัดออกจากบัญชีลูกหนี้ ถือเป็นบัญชีปรับมูลค่า โดยหักออกบัญชีลูกหนี้ การประมาณการหนี้ที่จะเก็บเงินไม่ได้มี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 ประมาณต้องการอัตราร้อยละของยอดขายในงวดนั้น
วิธีที่ 2 ประมาณต้องการอัตราร้อยละของยอดลูกหนี้คงเหลือในวันสิ้นงวด
ตัวอย่างที่ 5.7 วันที่ 1 มกราคม กิจการมีค่าเผือบัญชีหนี้สงสัยจะสูญ 3,000 บาท และวันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีบัญชีลูกหนี้คงเหลือ 80,000 และบัญชีขายสินค้า 150,000 บาท
วิธีการคำนวณตั่งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
วิธีที่ 1 ประมาณอัตราร้อยละของยอดขายในงวดนั้น
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ = 15,000 1 =1,500 บาท
100
บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม 2556
สมุดรายวันทั่วไป
พ.ศ. 2556 | รายการ | เลขที่ บัญชี | เดบิต | เครดิต | |||
เดือน | วันที่ | ||||||
ธ.ค. | 31 | หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้จะสูญหาย ตั้งค่าเผื่อหนี้จะสูญ1% ยอดขาย | 512 112 | 15,000 | - | 15,000 | - |
วิธีที่ 2 ประมาณการเป็นอัตราร้อยละของลูกหนี้ คงเหลือในวันสิ้นงวด
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ =80,000 * =4,000 บาท
หักค่าหนี้สงสัยจะสูญยกยอดมา =3,000 บาท
ดังนั้น ตั้งค่าหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น =1,000 บาท
บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม 2556
สมุดรายวันทั่วไป
พ.ศ. 2556 | รายการ | เลขที่ บัญชี | เดบิต | เครดิต | |||
เดือน | วันที่ | ||||||
ธ.ค. | 31 | หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้จะสูญหาย ตั้งค่าเผื่อหนี้จะสูญ1% ยอดขาย | 512 112 | 1,000 | - | 1,000 | - |
1)การตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญ
กรณีที่กิจการไม่ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เมื่อไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ได้จึงตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญ
ตัวอย่างที่ 5.8 กิจการลูกนี้ที่ค้างชำระ และมีการติดตามทวงถาม เมือวันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 กิจการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญจำนวน 2,000 บาท หลังจากได้รับการทวงถามจนถึงที่สุด จึงตัดเป็นหนี้สูญ ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม 2556
สมุดรายวันทั่วไป
พ.ศ. 2556 | รายการ | เลขที่ บัญชี | เดบิต | เครดิต | |||
เดือน | วันที่ | ||||||
ธ.ค. | 31 | หนี้สูญ ลูกหนี้การค้า ตัดลูกหนี้เรียกเก็บเงินไม่ได้เป็นสูญ | 513 112 | 2,000 | - | 2,000 | - |
5.2 งบทดลองหลังรายการปรับปรุง
หลังจากบันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไปที่เกี่ยวข้องแล้ว บัญชีที่มีผลกระทบจากรายการปรับปรุงจะมียอดคงเหลือที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นการรวบรวมยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททุกบัญชีหลังรายการปรับปรุง จึงมีการจัดทำงบทดลองขึ้นอีกครั้งซึ่งเรียกว่า "งบทดลองหลังรายการปรับปรุง" (Adjusted Trial Balance) โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องว่ายอดรวมทางด้านเดบิตยังเท่ากับยอดรวมทางด้านเครดิตภายหลังการปรับปรุงบัญชีแล้ว โดยรูปแบบของงบทดลองหลังปรับปรุงยังคงมีรูปแบบเหมือนงบทดลองก่อนรายการปรับปรุงแตกต่างเฉพาะชื่อหัวงบเท่านั้น
รายการที่ 1 ค่าโฆษณาสำหรับระระเวลา 6 เดือน เริ่ม 1สิงหาคม 2556
ปรับปรุงค่าโฆษณาล่วงหน้า 1 เดือน (ม.ค.) =9000*1/6
รายการที่ 2 รายได้ค่าเช่าอาคารสัญญา 1 ปี เริ่ม 1 ตุลาคม 2556
ปรับปรุงรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า 9 เดือน (ม.ค. –ก.ย) =120,000*9/12
รายการที่ 3 ค่าน้ำจำนวน 450 ค่าน้ำจำนวน 1,100 บาท ค้างจ่ายของเดือน ธันวาคม 2556
รายการที่ 4 ค่าเสื่อมราคาอาคารมีคาราคาซาก 100,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี
อ้างอิงอัตราตารางในการใช้ฟังก์ชั่นการคำนวณค่าเสื่อมราคา =SLN (B4,C4,D4)
บันทึกค่าเสื่อมราคาโดยอ้างอิงจากชีตตารางการคำนวณค่าเสื่อมราคา = ค่าเสื่อมราคา =! E4
รายการที่ 5 คิดค่าเสื่อ ราคาอุปกรณ์สำนักงานราคาซาก 2,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี
โดยบันทึกค่าเสื่อมโดยการอ้างอิงจากชีตตารางคำนวณค่าเสื่อมราคา =ค่าเสื่อมราคา !E3
รายการที่ 6 วัสดุสำนักงานคงเหลือ 800 บาท
ปรับปรุงวัสดุสำนักงานที่ใช้ไป = วัสดุสำนักงานต้นงวด – วัสดุสำนักงานคงเหลือ
=5,000 - 800
5.3 กระดาษทำการ
กระดาษทำการ (Work Sheet or Working Papers) หมายถึง แบบฟอร์มหรือกระดาษร่างที่กิจการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และ ไม่ผิดพลาด แต่กรณีที่เป็นกิจการขนาดเล็กและมีรายการไม่มากนักอาจไม่จำเป็น ต้องจัดทำกระดาษทำการก่อนทำงบการเงินก็ได้ โดยกระดาษทำการช่วยมีการรวมรวมข้อมูล เพื่อจัดทำงบการเงินต่อไป
กระดาษทำการ (Work Sheet or Working Papers) หมายถึง แบบฟอร์มหรือกระดาษร่างที่กิจการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และ ไม่ผิดพลาด แต่กรณีที่เป็นกิจการขนาดเล็กและมีรายการไม่มากนักอาจไม่จำเป็น ต้องจัดทำกระดาษทำการก่อนทำงบการเงินก็ได้ โดยกระดาษทำการช่วยมีการรวมรวมข้อมูล เพื่อจัดทำงบการเงินต่อไป
5.3.1 รูปแบบกระดาษทำการ
กระดาษทำการที่จัดมีช่องรายการสำคัญชื่อบัญชี ช่องจำนวนเงินด้านเดบิตและเครดิตสำหรับงบทดลอง รายการปรับปรุง งบทดลองหลังรายการปรับปรุง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน โดยทั่วไปกระดาษทำการมี 3 รูปแบบ ได้แก่
1 กระดาษทำการ 6 ช่อง
2 กระดาษทำการ 8 ช่อง
3 กระดาษทำการ 10 ช่อง
กระดาษทำการ 6 ช่อง ของธุรกิจกิจการ
เปิดสมุดงาน ชื่อ Form1 และเพิ่มแผนงานชื่อกระดาษทำการ
จัดเก็บสมุดงานชื่อใหม่ Worksheet
1 เขียนหัวกระดาษทำการ โดยเริ่มที่ชื่อของกิจการ บรรทัดถัดมาบอกเป็นกระดาษทำการ และบรรทัดสุดท้ายให้บอกเป็นระยะเวลางวดที่เราจัดทำ เช่น งวด 3 เดือน 6 เดือน หรือปี และสิ้นสุดในการดำเนินงานวันที่เท่าใด
2 ลอกงบทดลองลงในกระดาษทำการ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนชื่อบัญชี เลขที่บัญชี และจำนวนเงินลงในช่องที่กำหนด เดบิต หรือ เครดิต ตามหมวดบัญชี ซึ่งต้องเรียงลำดับหมวดบัญชีจากหมวด 1 – หมวด 5 แล้วรวมยอด ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
3 นำรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ลงจำนวนเงินในช่องรายการปรับปรุง โดยหาชื่อบัญชีจากงบทดลอง ในกรณีไม่มีชื่อบัญชีที่ต้องการให้เติมชื่อบัญชีต่อจากบรรทัดรวมเงินของงบทดลอง ซึ่งจำนวนเงินที่ปรากฏในช่องปรับปรุงจะต้องมีหมายเลขกำกับเป็นคู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ เมื่อนำมาครบทุกรายการให้รวมเงินในช่องปรับปรุง ยอดรวม 2 ด้านต้องเท่ากัน
4 นำตัวเลขหมวดบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ไปไว้ในงบดุลให้ตรงกับด้านที่ปรากฏในงบทดลอง หรือในรายการปรับปรุง หากมีบัญชีในงบทดลอง และในรายการปรับปรุงด้วยและปรากฏอยู่ด้านเดียวกันให้นำมาบวกกัน แต่หากอยู่คนละด้านให้นำมาหักกันแล้วจึงจะนำไปไว้ในงบดุล (ยกเว้นสินค้าคงเหลือต้นงวด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย จึงต้องนำไปไว้ในช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน)
5 นำตัวเลขหมวดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายรวมทั้งสินค้าคงเหลือต้นงวดไปไว้ในงบกำไรขาดทุน (ใช้วิธีเดียวกันกับขั้นที่ 4)
6 ให้รวมยอดในงบกำไรขาดทุนและงบดุล ซึ่งยอดจะไม่เท่ากันเพราะจะเกิดผลกำไร หรือขาดทุนนั้นเอง
7 ดูผลต่างในงบกำไรขาดทุน โดยให้ใส่ยอดผลต่างในด้านที่น้อยกว่า เช่น ยอดด้านเดบิตมีผลรวมน้อยกว่า ให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเดบิต(D14) และเขียนคำอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่ากำไรสุทธิ และหากยอดด้านเครดิตมีผลรวมน้อยกว่าให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเครดิต(F14)และให้เขียนอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่า ขาดทุนสุทธิโดยใช้สูตร =Sum(E14:E17)
8 รวมยอดทั้งสองด้านอีกครั้ง ทั้งในงบกำไรขาดทุน และงบดุล ซึ่งคราวนี้ยอดรวมต้องเท่ากัน
9 พิมพ์คำว่าขาดทุนสุทธิ ในช่องชื่อบัญชี
10 หาปผลรวมงบกำไรขาดทุนเเละงบเเสดงฐานะการเงิน
2.) กระดาษทำการ 6ช่อง ของธุรกิจซื้อขายสินค้า
1. เปิดสมุดงาน ชื่อ Form1 และเพิ่มแผนงานชื่อกระดาษทำการ
2.จัดเก็บสมุดงานชื่อใหม่ Worksheet
3.พิมพ์หัวงบ ชื่อกิจการ กระดาษทำการระยะเวลา
4.คัดลอกชื่อบัญชี เลขที่บัญชีและจำนวนเงินเดบิตและเครดิตในงบทดลอง
นำจำนวนเงินบัญชีหมวดสินทรัพย์
5.นำจำนวนเงินหมวดสินทรัพย์ และหนี้สินเป็นส่วนของเจ้าของ ใส่ในช่องงบแสดงการเงิน (งบดุล) ตามด้วยที่ปรากฏในงบทดลอง เช่นบัญชีเงินสด โดยนำเมาส์มาว่างในช่องงบแสดงฐานะการเงินด้านเดบิต (G6)หรือเครดิต ให้ใส่เครื่องหมายเท่ากับ = แล้วคลิกที่งบช่องเดบิต (C6) หรือเครดิตแล้วกด Enter ยกเว้นบัญชีสินค้าคงเหลือ (ต้นงวด) ยอดจะปรากฏงบช่องกำไรขาดทุนด้านเดบิต
6.จำนวนเงินบัญชีหมวดรายได้ ละค่าใช้จ่ายใส่ช่องงบกำไรขาดทุนตามด้านที่ปรากฏในงบทดลอง โดยนำเมาส์มาวางไว้ที่ช่องงบกำไรขาดทุน ด้านเดบิต หรือเครดิต เช่นบัญชีขายสินคา (F18) ใส่เครื่องหมายเท่า = แล้วคลิกงบทดลองด้านเครดิต (D18) แล้วกด Enter
7.พิมพ์สินค้าคงเหลือ (ปลายงวด) ช่องชื่อบัญชี ใส่จำนวนเงินในช่องงบกำไรขาดทุนด้านเครดิต (F29) แล้วนำเมาส์ไปว่างที่ช่องแสดงงบฐานะการเงินด้านเดบิต (G29) ใส่เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่เซลล์ F29 แล้วกด Enter
8.รวมยอดที่ช่องเดบิตและเครดิต ของงบกำไรขาดทุนละงบแสดงฐานะการเงิน โดยเริ่มที่ช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน ใช้สูตร Sum (E18:E29) ลงที่ช่องที่เหลือวิธีเดียวกัน
9.หายอดผลต่างระหว่างช่องเดบิตและเครดิตของกำไรขาดทุน โดยว่างเมาส์ที่เซลล์ F13 .ใช้สูตร =E30-F30 ส่วนงบแสดงฐานะการเงิน ให้นำเมาส์มาวางที่เซลล์ G31 และใช้อ้างอิงเซลล์ =F31 ผลต่างที่ได้คือ ขาดทุนสุทธิ และรวมยอดที่เท่ากันทั้งสองด้าน (ถ้าช่องเดบิตของกำไรขาดทุน>ช่องเครดิตคือ ขาดทุนสุทธิ)
10.พิมพ์คำว่ากำไรขาดทุนสุทธิ ในช่องชื่อบัญชี
11.หาผลวมของงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน ดังภาพ
2.) กระดาษทำการ 8 ช่องของธุรกิจซื้อขายสินค้า
1. ทำเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1-7 ในการจัดทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
2. พิมพ์ชื่อบัญชีที่ปรับปรุงเพิ่มหากไม่ปรากฏบัญชีนั้นในงบทดลองต่อจากสินค้าคงเหลือ ( ปลายงวด )
3. จำนวนเงินที่ปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ใส่ช่องรายการปรับปรุงโดยนำเมาส์มาวางไว้ที่ช่องรายการปรับปรุงด้านเดบิต (E30) หรือเครดิต ใส่เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่สมุดรายงานวันทั่วไป (F4) หรือเครดิต แล้วกด Enter จนครบทุกบัญชี
4. ยอดรวมที่ช่องเดบิตและเครดิตของรายการปรับปรุง งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินโดยเริ่มที่ช่องเดบิตของรายการปรับปรุง ใช้สูตร =Sum(G18:G36) ช่องที่เหลือใช้วิธีการเดียวกัน
5. หาผลต่างระหว่างช่องเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุน โดยวางเมาส์ที่เซลล์ G37 โดยใช้สูตร =H36-G36 ส่วนงบแสดงฐานการเงิน วางเมาส์ที่เซลล์ J37 และใช้อ้างอิงเซลล์ =G37 ผลต่างที่ได้คือ กำไรสุทธิ และรวมบอดให้เท่ากันทั้งสองด้าน
6. พิมพ์คำว่า กำไรสุทธิ ในช่องชื่อบัญชี
5.4ประโยชน์ของกระดาษทำการ
เนื่องจากการจัดทำบัญชีมีหลายขั้นตอนจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลา นักบัญชีจึงใช้กระดาษทำการเป็นเครื่องมือเพื่อสรุปงบทดลองก่อนรายการปรับปรุง รายการปรับปรุงงบทดลองหลังรายการปรับปรุง งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน ดังนั้นประโยชน์ของกระดาษทำการ มีดังนี้
1. ใช้สรุปรายการปรับปรุง ณ วันสิ้นงวดระยะเวลาบัญชี
2. ใช้เป็นกระดาษว่างทำให้เกิดความสะดวกและประหยัดในการจัดทำงบการเงินของกิจการ ที่ช่วยจำแนกตัวเลขไว้ในช่องงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)
3. ทำให้ทราบผลการดำเนินงานสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่ง ว่ามีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
4. ทำให้ทราบฐานะการเงินของกิจการว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น